ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว
ชื่อไทย
ตะเพียนขาว, ตะเพียน
ชื่อสามัญ
COMMON SILVER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์
Puntius gonionotus
ถิ่นอาศัย
พบตามแหล่งน้ำไหล และน้ำนิ่งทั้งในภาคลาง ภาคเหนือและภาคอีสาน
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะลำตัวแบนข้างขอบหลังโค้งยกสูงขึ้น หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากบาง จะงอยปากแหลม มีหนวดเส้นเล็กๆ 2 คู่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัวประมาณ 29-31 เกล็ด ลำตัวมีสีเงินบริเวณส่วนหลังมีสีคล้ำส่วนท้องเป็นสีขาวนวลปลาตะเพียนขาวซึ่งมีขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีลำตัวยาวที่สุดเกือบ 50 ซม. ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตแพร่ขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อยฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำตลอดจนในนาข้าว
การสืบพันธุ์
อาหารธรรมชาติ
กินพืช เมล็ดพืชตระกูลหญ้าโดยเฉพาะข้าว สาหร่าย ตะไคร่น้ำ ซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย แพลงก์ตอน ไรน้ำ
การแพร่กระจาย
ความสำคัญ
เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เนื้อใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า ปลารมควันและใส่เกลือตากแห้ง

ใส่ความเห็น