ประเภทของคันเบ็ด

ประเภทของคันเบ็ด
คันเบ็ดแบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1. คันเบทคาสติ้ง (Bait Casting Rod)
2. คันสปินนิ่ง (Spining Rod)
3. คันฟลาย (Fly Rod)
4. คันชิงหลิว (Chinglew Rod)
5. คันทะเล (Saltwater Rod) จะแบ่งได้อีก 3 ประเภท คือ
   – คันโบ้ท (Boat rod)
   – คันสแตนด์-อัพ (Stand-up rod)
   – คันทรอลลิ่ง (Trolling rod)
คันเบทคาสติ้ง (Bait Casting Rod)
คันเบ็ดคาสติ้ง
คันเบ็ดคาสติ้ง
คันเบ็ดคาสติ้ง
คันเบ็ดคลาสติ้ง (Bait Casting Rod)
เป็นคันเบ็ดที่ได้รับความนิยมจากนักตกปลามากอีกชนิดหนึ่งโดยเฉพาะนักตกปลาที่ผ่านหรือมีประสบการณ์ในการใช้อุปกรณ์ตกปลาประเภทสปินนิ่งมาแล้ว อาจจะด้วยเหตุผลว่าเบื่อชุดสปินนิ่งหรือต้องการยกระดับของตัวเอง รูปแบบของคันเบ็ดมีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับคันโบ้ท (Boat rod) มากที่สุดโครงสร้างของตัวคันเบ็ดที่ประกอบด้วยไกด์นั้นมีลักษณะเหมือนกับสปินนิ่งแต่ตัวไกด์ของ คันเบทคาสติ้งจะมีขนาดวงเล็กและฐานเตี้ยกว่าไกด์ของสปินนิ่งแต่ปริมาณตัวไกด์มีมากกว่าของคันสปินนิ่ง 1-2 ตัว เนื่องจากสายเบ็ดจะวิ่งอยู่ด้านบนของคัน จึงจำเป็นต้องติดตั้งไกด์มากกว่าเพื่อป้องกันไม่ให้สายเบ็ดตกลงมาทาบกับตัวคันเบ็ดขนาดของไกด์ที่ไม่จำเป็นต้องใหญ่เพราะ สายจะวิ่งออกจากรอกเบทคาสติ้งแนวตรงไม่ควงเป็นวงคันเบทคาสติ้งที่ยาวกว่า 7 ฟุตขึ้นไปจะไม่นิยมออกแบบให้ที่ยึดขารอกโค้งตัวลงไปเหมือนคันสั้นรูปแบบของคันจึงมองดูคล้ายคันสปินนิ่งมากกว่าด้ามเบทคาสติ้งโดยทั่วๆ ไป จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ
– ด้ามออฟเซ็ท (Off set) มีลักษณะคล้ายด้ามมีดหรือด้ามปืนงอนลงเล็กน้อยและสั้น
– ด้ามตรง (Straight) มีลักษณะเหมือนด้ามสปินนิ่ง แต่จะมีส่วนยื่นออกมาคล้ายไกปืน จุดประสงค์เพื่อเอาไว้ใช้นิ้วก้อยยึดทำให้เกิดความกระชับขณะเหวี่ยงเหยื่อ
– ด้ามดีเคอร์ฟ (Decurved) เป็นด้ามที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้กับรอกสปินคาสติ้ง มีลักษณะคล้ายด้ามออกเซ็ทแต่ด้ามประเภทนี้ต้องใช้กับรอกขนาดใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้สายพาดโดยส่วนหน้าของด้ามจัด หรือที่เรียกว่าไฟร์กริพ ( Fore grip)
คันเบ็ดสปินนิ่ง (Spining Rod)
คันเบ็ดสปินนิ่ง
คันเบ็ดสปินนิ่ง
คันเบ็ดสปินนิ่ง
คันเบ็ดสปินนิ่ง (Spining Rod)
เป็นคันที่นักตกปลาหรือบุคคลทั่วไปรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดีเพราะเป็นคันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีความยาวหลายขนาดตั้งแต่ 5-12 ฟุตการลงเรือไปตกปลาหากใช้คันที่ยาวมากก็จะเกะกะมากซึ่งอาจจะกลายเป็นข้อจำกัดได้จุดที่จะสังเกตคันประเภทนี้ คือ ไกด์ (Guide) มีขนาดใหญ่และมีจำนวนตัวไกด์น้อย คือ 5-7 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของคันเหตุผลที่ไกด์มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษเพื่อให้รองรับสายเบ็ดที่จะเกิดเป็นรูปกรวยมุมแหลมอันเกิดจากการหมุนตัวของแขนกว้านสายวงแหวนไกด์ขนาดใหญ่จะไม่ทำให้รูปกรวยเกิดมุมหักมากเกินไปและขณะที่ตีเหยื่อออกไป สายเบ็ดจะออกไปในลักษณะควงเป็นวง วงไกด์ที่ใหญ่จะลดการเสียดสีของสายเบ็ดกับไกด์ได้
วัสดุที่ทำไกด์นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน เช่น
–   ไกด์ทองเหลืองชุบโครเมียม ราคาถูก พบได้ในคันเบ็ดรุ่นเก่า
–   ไกด์สเตนเลส ส่วนใหญ่พบในคันเบ็ดจากยุโรป
–   ไกด์เซรามิก (Ceramic) ไกด์ชนิดนี้มีวงแหวนภายในเป็นกระเบื้องและมีวงแหวนพลาสติกหุ้มอยู่ภายนอก โดยมีลักษณะโครงสร้างเป็นโลหะจำพวกทองเหลืองชุบโครเมียมหรือชุบสีอยู่ชั้นนอกสุด
–   ไกด์อะลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminum oxide) เหมือนไกด์เซรามิก เพียงแต่ว่าวงแหวนภายในสุดเป็นเนื้ออะลูมิเนียมออกไซด์มีคุณสมบัติทนทานต่อการเสียดสีสูงกว่าเซรามิก ใช้กับคันเบ็ดที่มีราคาปานกลาง ค่อนข้างสูง
–   ไกด์ซิลิคอนคาร์ไบด์ (Silicon carbide) มีวงแหวนภายในสุดเป็นเนื้อซิลิคอนคาร์ไบด์มีคุณสมบัติดีกว่าอลูมินั่มออกไซด์
คันฟลาย (Fly Rod)
คันฟลาย (Fly Rod)
ชุดฟลายเป็นชุดเบ็ดตกปลาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ได้ทั้งงานน้ำจืดและน้ำเค็มเป็นอุปกรณ์ที่มักจะกล่าวไว้เป็นศาสตร์เฉพาะและกลุ่มบุคคลที่ใช้ก็มักจะเป็นเฉพาะกลุ่มในบางประเทศถึงกับมีชมรมสมาคมสำหรับนักตกปลาด้วยชุดฟลาย
ลักษณะทั่วไปของคันฟลายเหมือนกับคันสปินนิ่งมากที่สุดแต่มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตัวยึดฐานรอก (reel seat) จะติดตั้งอยู่ปลายล่างสุดของตัวคันเบ็ดนั่นคือตัวมือจับที่เป็นไม้ก็อกหรือยางสังเคราะห์ของคันฟลายจะมีเพียงตอนเดียวไม่มีด้ามจับตอนล่างเว้นแต่บางรุ่นที่สามารถต่อด้ามพิเศษไปอีก 1 ส่วน แต่ก็มีลักษณะเป็นท่อต่อออกไปตรงๆและมีปุ่มยางหรือไม้ก็อกหุ้มตรงปลายเพื่อใช้เป็นที่พักปลายด้ามเบ็ดกับหน้าขาหรือบริเวณท้องได้บ้าง จุดพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ไกด์เป็นแบบเฉพาะเรียกว่า Snake Guide คงเรียกจากรูปทรงของไกด์ที่ใช้ลวดบิดเป็นวงโค้งลักษณะคล้ายงูขดตัว แต่รุ่นใหม่ๆบางรุ่นหันมาใช้ไกด์วงแหวนแทนกันมากขึ้นขนาดของไกด์เล็กกว่าคันสปินนิ่งมาก
คันฟลายเป็นคันเบ็ดที่มีแอ็คชั่นอ่อน (Slow) กว่าคันประเภทอื่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งลายเบ็ดหรือเหวี่ยงเหยื่อได้ง่ายขึ้นนั่นเองคันฟลายโดยทั่วไปมีเพียง 2 ท่อนเท่านั้น และคันฟลายไม่สามารถนำไปใช้กับรอกอื่นๆ ได้เลย วัสดุที่ใช้ก็เหมือนกับคันเบ็ดชนิดอื่น นอกจากนี้ยังนิยมนำไม้ไผ่มาทำคันเบ็ดกันอยู่มากพอควรเพราะมีคุณสมบัติเด่นทางด้านการสปริงตัวประกอบกับชุดฟลายนั้นถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์คลาสสิก และเป็นงานศิลปะที่ควรแก่การอนุรักษ์ ราคาของคันฟลายก็มีตั้งแต่ถูกถึงแพงมาก
คันชิงหลิว (Chinglew Rod)
คันชิงหลิว (Chinglew Rod)
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นคันเบ็ดที่ได้รับความนิยมไม่แพ้คันสปินเหมือนกันคิดว่าท่านที่ชอบตกปลาจะต้องอดไม่ได้ที่จะต้องมีคันเบ็ดชนิดนี้ติดท้ายรถเอาไว้คันเบ็ดชิงหลิวนั้นเป็นการเลียนแบบมาจากค้นไม้ไผ่เรานี้เอง แต่คันชิงหลิวนั้นสามารถที่จะหดเข้าและดึงออกได้ความยาวของคันเบ็ดชิงหลิวนั้นมีความยาวแต่ 10 ฟุตขึ้นไป ถึง 15 ฟุตเป็นส่วนมาก
วัสดุที่นำเอามาทำนั้นส่วนมากจะเป็นประเภทไฟเบอร์กลาสหรือยางยี่ห้ออาจมีวัสดุประเภทแกรไฟร์รวมอยู่ด้วยซึ่งนั้นก็หมายความว่าราคาก็จะต้องแพงไปตามกันไปด้วย
       คันชิงหลิวเป็นคันเบ็ดที่เหมาะสำหรับที่จะตกปลาขนาดเล็ก ซึ่งคันเบ็ดจะมีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโล เรียกกันว่าได้ตัวประมาณ 2 กิโล ก็อัดกันอยู่นานกว่าจะเอาขึ้นมาได้ การตกปลาด้วยคันชิงหลิวนั้นต้องอาศัยใจเย็นหากใจร้อนก็มีหวังไม่ขาดก็คันหัก
โอกาสที่ใช้มักจะเหมาะกับการตกปลาตามบ่อ บึง หรือแนวริมตลิ่งชายฝั่งทั่วไปคันเบ็ดประเภทนี้มีวิธีการตกอยู่ค่อนข้างมากสักหน่อย
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นไม่มีการประกอบกับรอกใดๆเพราะไม่มีที่ยึดขารอก reel seat แม้แต่สายก็ยังคงใช้ผูกที่ปลายคันเบ็ด โดยที่ทางคันเบ็ดนั้นจะทำห่วงมาให้หรือบางทีก็ทำมาเป็นสายสำเร็จที่ปลายคันเลยก็มี
คันเบ็ดชิงหลิวนั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อนำเอามาประกอบกับทุ่นชิงหลิว ซึ่งเป็นทุ่นที่ผลิตออกมาคู่กับคันเบ็ดโดยเฉพาะ
สายที่ใช้นั้นไม่ควรที่จะเป็นสายใหญ่จนเกินไปสายที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 15 ปอนด์เป็นอย่างมาก
คันทะเล (Saltwater Rod)
       คันเบ็ดสำหรับตกปลาทะเลโดยเฉพาะ ถ้าจะแยกประเภทใหญ่ๆ ก็จะมีอยู่เพียง 3 ประเภทคือ
คันโบ้ท (Boat rod)
คันโบ้ท (Boat rod)
เป็นคันเบ็ดสำหรับตกปลาบนเรือที่ต้องการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาลักษณะทั่วๆไปเหมือนกับคันเบทคาสติ้ง เพราะเป็นคันเบ็ดที่นักตกปลาเรียกว่าคันที่ใช้กับรอกขวาง ซึ่งมักนิยมใช้คู่กับรอกเบทคาสติ้งขนาดใหญ่หรือแม้นใช้กับรอกทรอลลิ่งนักตกปลาบางรายนำคันโบ้ทมาใช้ลากเหยื่อหรือการทรอลลิ่งเป็นการแก้ขัดก็ย่อมได้ แต่มีผลเสียที่การเสียดสีของสายเบ็ดกับไกด์และทำให้สายเอ็นแบนได้ง่าย นอกจากนี้อาจทำเกิดการสูญเสียโอกาสสำคัญได้หากว่าโดนปลาเข้าชาร์ทเหยื่ออย่างรวดเร็วและรุนแรง เพราะคันโบ้ทไม่ได้ออกแบบมาใช้กับงานลากเหยื่อคือไม่ทนต่อแรงฮุคกระชากเท่ากับคันทรอลลิ่ง คันโบ้ทมักใช้ถือตกจึงเป็นคันที่เบาและเล็กกว่าคันทรอลลิ่งด้ามทำด้วยยางฐานรอกเป็นกราไฟท์ก็เพียงพอ
คันสแตนด์-อัพ (Stand-up rod)

คันสแตนด์-อัพ (Stand-up rod)
บางคนเรียกว่าคันทรอลลิ่งด้ามสั้นเป็นคันเบ็ดที่ออกแบบมาเพื่อใช้ตกบนเรือเช่นกัน ถ้าดูตามชื่อคันเบ็ดชนิดนี้ออกแบบมาเพื่อให้ยืนสู้กับปลาคุณสมบัติพิเศษของคันประเภทนี้ คือมีพลังในการอัดปลา หรือการดีดตัวกลับของคันสูงกว่าคันทรอลลิ่งทั่วไปอยู่ประมาณ 25-30% ไกด์ของคันชนิดนี้มีทั้งแบบลูกล้อ (Roller guide) และไกด์ลูกล้อผสมไกด์วงแหวนที่ว่าผสมคือไกด์ปลายสุด (Tip Top) และไกด์หน้ารอกจะเป็นแบบลูกล้อส่วนไกด์ตรงกลางๆจะเป็นแบบวงแหวน แต่ถ้าเป็นไกด์ชนิดลูกล้อทั้งหมดจะได้รับความนิยมกว่า คันสแตนด์-อัพ มีลักษณะคล้ายคลึงกับคันทรอลลิ่งมากจุดที่พอสังเกตุได้คือ คันสแตนด์-อัพ ด้ามคันสั้นมาก แต่ตัวมือจับด้านบน (Fore grip) กลับยาวมากคือยาวกว่าด้ามคันเบ็ดถึง 2 เท่าก็มีทำให้นักตกปลาได้เปรียบในการเลื่อนมือไปจับด้ามเบ็ดตรงจุดใดก็ได้ยิ่งช่วงอัดกับปลาอยู่นั้นสามารถเลื่อนมือไปเกือบสุดมือจับเลยทีเดียวแต่กรณีนี้หากใช้เข็มขัดสู้ปลาแบบคาดเอวการเลื่อนมือไปไกลสุดจะทำได้ยากและเมื่อยล้าเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเขาจึงเลื่อนเข็มขัดสู้ปลาให้ตัวรองรับปลายด้ามคันเบ็ดไปอยู่แถวๆหน้าขาของผู้ใช้

คันทรอลลิ่ง (Trolling rod)
คันทรอลลิ่ง (Trolling rod)
เป็นคันคล้ายๆกับคันสแตนด์-อัพแต่แอ็คชั่นมีความกระด้างกว่า มีเอกลักษณ์ประจำตัวโดดเด่นจากคันเบ็ดประเภทอื่นๆ เช่น ตัวคันเบ็ดสั้นประมาณ 5-7 ฟุต เป็นหลัก แต่ขนาดของคันค่อนข้างใหญ่และแข็งแรงตัวไกด์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลูกล้อ (Rooler guide) อาจมีไกด์วงแหวน (Ring guide) ใช้บ้างในคันทรอลลิ่งขนาดเล็กถึงปานกลางเพื่อความประหยัดตัวด้ามคันเบ็ดส่วนมากทำด้วยโลหะประเภทอะลูมินั่ม ส่วนชนิดที่ทำด้วยยางสังเคราะห์จะใช้กับคันราคาปานกลางและคันสแตนด์-อัพแต่มีสิ่งหนึ่งที่คันทรอลลิ่งไม่ว่าราคาถูกหรือแพงต้องมีเหมือนๆกัน นั่นคือโคนด้ามเบ็ดจะต้องเป็นแฉก 4 แฉกหรือที่เรียกว่า Gimbal ปลายแฉกที่ว่านี้เป็นโครงสร้างท้ายสุดของโคนคันเบ็ด ซึ่งมักจะถูกห่อหุ้มด้วยปลอกพลาสติก (Butt cap) อีกทีหนึ่ง จุดประสงค์เพื่อให้ลงล็อคกับล็อคในกระบอกพักคันหรือเบ้าของเข็มขัดสู้ปลาและเก้าอี้สู้ปลา คันทรอลลิ่งที่ใช้กับเก้าอี้สู้ปลาโดยเฉพาะจะมีส่วนด้ามคันโค้งประมาณ 40-50 องศา เรียกว่า เคอร์ฟ บัทท์ (Curved butt) เพื่อช่วยเพิ่มมุมในการโยกคันเบ็ดให้กว้างขึ้นกว่าด้ามตรง

ใส่ความเห็น